ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง

ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง
นักรัฐศาสตร์ที่ใช้หลักธรรมของพระพุทธเจ้าในการทำงาน





  
ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง ท่านสำเร็จการศึกษาระดับ
- ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์การเมือง (University of Manila : ฟิลิปปินส์),
- ปริญญาโท สาขาพัฒนาการทางการเมือง (สหรัฐฯ),
- ปริญญาเอกด้านผู้นำและพฤติกรรมเชี่ยวชาญทางการเมือง มหาวิทยาลัยนานาชาติ แซนดิเอโก้ และ
- ปริญญาเอก ด้าน Leadership & Unman Behavior with specialization in Urban Development, Urban Development, Usiu ประเทศสหรัฐอเมริกา


     
     ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง ท่านถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านรัฐศาสตร์ จนเป็นที่ยอมรับจากสถาบันอุดมศึกษา โดยให้ท่านได้ดำรงตำแหน่งต่างๆ อาทิ 

- อดีตผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอกคณะรัฐประศาสนศาสคร์ (NIDA)

- ประธานคณะกรรมการวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 
- ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก คณะรัฐประศาสนศาสตร์ (Doctor of Public Administration (DPA) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (2548 - 2549)

- ผู้อำนวยโครงการปริญญาเอกคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์  
  ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Doctor of Public Administration (DPA) (2549 - ปัจจุบัน)

     สมัยที่ท่านเป็นอาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ NIDA มีผลงานวิจัยระดับประเทศ คือ KSM Model และมีประสบการณ์ดำรงตำแหน่งนายกสภา และคณะกรรมการสภาวิทยาลัยในประเทศไทย มีผลงานการเขียนหนังสือตั้งแต่ พ.ศ.2519 – พ.ศ.2551 จำนวนทั้งหมด 50 เล่ม อาทิ ประชาธิปไตยรากหญ้า การจัดการทุนมนุษย์ Human Capital Management และเอกสารประกอบการสอนในระดับปริญญาโท-เอก ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ กว่า 25 ชุด


     นอกจากนี้ ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง ท่านยังมีประสบการณ์ทางด้านการเมือง โดยเป็น 
- อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ปีพ.ศ. 2518) 
- อดีตรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 (2543 - 2549) และ
- ประธานคณะกรรมการด้านกิจการพรรคการเมือง และออกเสียงประชามติคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) (2550 - ปัจจุบัน)

                
     ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง นักรัฐศาสตร์ที่ใช้หลักธรรมของพระพุทธเจ้าในการทำงานไม่ว่าจะเป็น ตัวแทนของชาวบ้าน อาจารย์สอนหนังสือ ผู้นำพาการทำงานของผู้ที่เป็นผู้แทนท่านได้กล่าวว่า  

"การรู้จักคิดเป็นสิ่งที่ดี แต่การหยุดคิดนั้นดีกว่า"

     ขยายความว่าเรามักคิดเรื่องราวแทนคนอื่นๆ เป็นการยากที่จะมีความถูกต้อง และทำให้ต้องกลับมาคิดเรื่องราวของตนเอง ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นๆ พยายามหาจุดร่วมที่ง่ายที่สุดคือ ความรู้สึกสุดท้ายร่วม เพื่อที่จะนำเอามาเรียนรู้ว่าจะทำให้เกิดความคิดเห็นร่วม และการแสดงออกร่วมได้ต่อไป

     นอกจากนี้ท่านยังได้เขียนบทความ "การนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน" ในวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อันเป็นบทความที่สื่อถึงการนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาใช้กับโลกปัจจุบัน ที่ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติตามอย่างหน้าที่ชาวพุทธที่ดีเสมอมา

ที่มา
http://grad.vru.ac.th/about_graduate/ga_personal_profile.php?people=11
https://www.facebook.com/protectpapa/
http://kukr.lib.ku.ac.th/ku_journal/JSSH/search_detail/result/201372

1 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น...