ครูบาบุญชุ่ม พูดถึง หลวงพ่อธัมมชโย


ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญญะวาสีภิกขุ
เกจิดังแห่งล้านนา



พระสายปฏิบัติ

             ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ท่านมีนิสัยของพระอริยเจ้ามาตั้งแต่เด็กๆ ในสมัยบวชเป็นสามเณรจะชอบนั่งสมาธิภาวนาไม่สุงสิงกับใคร พอได้บวชเป็นพระ ตลอดระยะเวลา ๓๐ กว่าพรรษาของท่านนั้น ท่านจะชอบปฏิบัติกรรมฐาน ทั้งปฏิบัติกับหลวงปู่ที่ทรงอภิญญาและปฏิบัติด้วยตนเอง โดยพิจารณาอัฐิเป็นอารมณ์กรรมฐาน จนเห็นผลและสำเร็จกรรมฐานในระดับสูง


หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ กับ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร 




ครูบาบุญชุ่ม กับปรากฏการณ์แห่งพลังศรัทธาสารทิศ โดยมีพลังศรัทธาจากชาวไทย ชาวพม่า ชาวไทยใหญ่




ครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญญะวาสีภิกขุ กับ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก




สาธุชนชื่นชมบารมี'ครูบาบุญชุ่ม'ออกจากถ้ำ หลังอยู่กรรมฐานนาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน

            เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ มีพลังศรัทธาหลั่งไหลมาชมบารมีพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร ซึ่งออกจากปฏิบัติธรรมเข้ากรรมฐาน หลังบำเพ็ญเพียร อธิษฐานไม่เปล่งวาจาและไม่พบบุคคลใดๆ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๓ นาน ๓ ปี ๓ เดือน ๓ วัน ณ ถ้ำราชคฤห์ อ.งาว จ.ลำปาง เพื่อร่วมงานอาสาฬหบูชา เทศนาสั่งสอนรวม ๓ วัน



              หลังจากนั้นพระครูบาบุญชุ่ม กลับเข้าสู่กรรมฐานต่อเป็นเวลา ๓ เดือน ในช่วงเข้าพรรษาตั้งแต่วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา โดยให้ลูกศิษย์คนใกล้ชิด ๑๓ คน

                และระหว่างนั้นได้พูดกับลูกศิษย์ ท่านหนึ่งในนั้น ถึงหลวงพ่อธัมมชโย ไว้ว่า "หลวงพ่อธัมมชโยเป็นพระดี ปฏิบัติชอบ นำความเจริญรุ่งเรืองให้พระศาสนา ทำความเจริญให้ประเทศ อย่างอื่นไม่เอา เอาเรื่องพระศาสนา พาคนมานั่งสมาธิ มีความระเบียบเรียบร้อย เมตตาสรรพสัตว์ ครูบาฯ ยังแนะนำให้ลูกศิษย์ทำตามท่านเลย"


ศึกษาประวัติท่านเพิ่มเติม :

ติดตามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ หลวงพ่อธัมมชโย
Facebook พิทักษ์หลวงพ่อชีวิต

https://www.facebook.com/protectpapa/


จะใส่ร้าย วัดพระธรรมกาย ไปถึงไหน?














 ประกาศขอขมาจาก สื่อต่างๆ

        โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332


        บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง



        และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13

     
      โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิ(Meditation)บนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัวซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก







        โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

        หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้





จะใส่ร้าย วัดพระธรรมกาย ไปถึงไหน?














 ประกาศขอขมาจาก สื่อต่างๆ

        โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์สายมรัฐได้ลงข่าวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องการถือครองที่ดินที่ได้รับบริจาค เรื่องราวนิคหกรรม เรื่องราวคำสอนว่าบิดเบือนลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า การอวดอุตริมนุสธรรม ทำความผิดฐานลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชน กระทำการในตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานที่ไม่เหมาะสม ต้องอาบัติปาราชิก เรียกวัดพระธรรมกายว่าวัดฉาว นำเงินบริจาคไปดำเนินการนอกวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค หลอกขายพระดูดทรัพย์ หลอกขายบุญ เป็นวัดที่มีอิทธิพลเหนือองค์กรและเจ้าพนักงานของรัฐ เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่าเป็นอลัชชี เดียรถีย์ พระปลอมจอมมาร นายไชยบูลย์ พระฉาว ศาสดาลูกแก้ว พระนอกรีด ภิกษุมหาโจร เจ้าอาวาสวัดฉาว มีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับหญิงสาว โดยลงข้อความและข่าวในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2543 โดยการดังกล่าวไม่เป็นความจริงและเป็นความเห็นของหนังสือพิมพ์สยามรัฐเอง เป็นเหตุให้วัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลอาญาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 91, 326, 328, และ332


        บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอขมาต่อวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ต่อการกระทำดังกล่าว และยอมรับว่าข้อความที่ลงตีพิมพ์ไม่ตรงกับความจริง ทำให้ประชาชนทั่วไป ที่ไม่ทราบความจริงอาจเข้าใจผิดได้ ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในช่วงเดือน สิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนมกราคม พงศ.2543 เป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง



        และหนังสือพิมพ์สยามรัฐ ขอกราบขอบพระคุณวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน



ปีที่ 52 ฉบับที่ 17691 วันพุธที่ ตุลาคม พ.ศ.2544 หน้า 13

     
      โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่นิตยสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับปีที่ 46 ฉบับที่ 13 ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ถึงวันเสาร์ที่ กันยายน พ.ศ.2542 ในภาพหน้าปกได้นำภาพใบหน้าของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ มาตัดต่อกับภาพบุรุษเปลือยกายนั่งขัดสมาธิ(Meditation)บนตะปู อยู่ในอาการของการทรมานตน และมีข้อความว่า "ทณฑํ สรณํ คจฉามิ" เพื่อให้ผู้พบเห็นเชื่อว่าเป็นภาพพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ซึ่งไม่เป็นความจริง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ไม่เคยถ่ายภาพหรือกระทำลักษณะอาการดังกล่าว เป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้รับความเสียหาย

    บริษัท สยามรัฐ จำกัด ในฐานะเจ้าของนิตยสารสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และนายศักดา นพเกตุ ขอกราบขอขมาต่อพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ในการกระทำดังกล่าว และขอกราบขอบพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ที่อภัยทานให้มา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

     และในบทนำของนิตยสารฉบับดังกล่าวในคอลัมน์ เปิดขบวนที่เขียนโดยนายศักดา นพเกตุ ได้ตีพิมพ์ข้อความจาบจ้วงล่วงเกินพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า "ชาวธรรมกายและเหล่าพระปลอมจอมมาร คงลิงโลดลำพองหัวใจเป็นอย่างยิ่งที่พระปลอมจอมมารได้รับประกันตัวซึ่งความจริงแล้วพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็นพระที่แท้จริง ปฏิบัติตนอยู่ในพระธรรมวินัย ด้วยดี และได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก







        โดยมีเนื้อความประกาศ ดังนี้ ตามที่หนังสือพิมพ์มติชนได้ตีพิมพ์ข้อความเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายฯ และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) กรณีเรื่องราวใช้ถ้อยคำล่วงเกินโดยเรียกวัดพระธรรมกายว่า วัดฉาว สำนักฉาว เรียกพระราชภาวนาวิสุทธิ์ว่า นายไชยบูลย์ เจ้าสำนักฉาว กล่าวหาว่าเล่นหุ้น โอนเงินของวัดให้สีกา โดยตีพิมพ์ข้อความในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2542 ทั้งๆที่โจทย์ยังอยู่ในสมณศักดิ์

        หนังสือพิมพ์มติชน และนายสุชาติ ศรีสุวรรณ ในฐานะบรรณาธิการ ขอยอมรับว่าข้อความที่ตีพิมพ์คลาดเคลื่อน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดวัดพระธรรมกาย และพระราชภาวนาวิสุทธิ์ จนได้รับความเสียหาย จึงขออภัยต่อวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และขอขอบพระคุณที่อภัยทานมา ณ โอกาสนี้





อำนาจใครหนุนพุทธอิสระ อำนาจนั้น...ก็กำลังเล่นงานธรรมกาย


เกิดความสงสัยไปทั่วว่า เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทำไมไม่มอบตัวสู้คดี?

 ก่อนอื่น ต้องรู้ก่อนว่า


DSI มีอำนาจตามกฎหมายที่จับพระสึกก่อน ขังคุกก่อน แม้ไม่ผิดอะไร รอศาลตัดสินเสร็จ จะกี่ปีก็ตาม ไม่ผิดจึงถูกปล่อยตัว กฎหมายนี้มีจริงๆในประเทศเรา(ประมวลกฎหมาย มาตรา 71และ พรบ.สงฆ์ 29)


และได้ยินมาว่า DSI ตั้งธงจะใช้อำนาจกฎหมายนี้กับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เหมือนดั่งมีใบสั่งจากผู้มีอำนาจที่หนุนพุทธอิสระ



พุทธอิสระ แกนนำม๊อบปิดถนน นำม๊อบอาวุธสงคราม
ปิดศูนย์ราชการ ปิดล้อม DSI
มีหมายจับจากศาลตั้งแต่ปี 57 แต่ไม่มีใครกล้าจับ




ตอนนี้อยู่ขั้นตอนที่ 3 แจ้งข้อหา การแจ้งข้อหาแจ้งที่ไหนก็ได้

เรื่องนี้จะจบอย่างสันติ
ถ้า DSI เดินทางไป แจ้งข้อกล่าวหากับเจ้าอาวาสที่วัดพระธรรมกาย เจ้าอาวาสท่านจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทันที คดีความจะไปถึงอัยการ และอัยการก็ส่งต่อไปที่ศาล แล้วก็สู้คดีกันในศาล ซึ่งเจ้าอาวาสพร้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกฎหมาย เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ DSI ไม่เลือก?


มันไม่ยุติธรรมที่พระรูปไหนก็ตามจะต้องถูกจับสึกก่อน ขังคุกก่อน แล้วค่อยรอศาลตัดสิน อย่างที่พระพิมลธรรม เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ เคยถูกกระทำมาแล้วภายใต้กฎหมายและผู้ใช้อำนาจกฎหมายในประเทศที่มีชาวพุทธถึง 94%

พระพิมลธรรม เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ

4 เหตุผลที่ทำไม เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังไม่ไปสู้คดี


เหตุผลที่ทำไม เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังไม่ไปสู้คดี




1.ขอใช้สิทธิ์อาการป่วย ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ได้ ท่านป่วยมาตลอด 10กว่าปีแล้ว อาการหนักบ้าง ดีขึ้นบ้าง เป็นบางช่วง ด้วยอาการป่วยนี้ ทำให้ท่านไม่สามารถเดินทางออกจากวัดมา 8ปีกว่าแล้ว แต่ DSI ไม่ให้สิทธิ์นั้น


2.เหล่าศิษย์ คลางแคลงใจ ในการทำงานของของDSI เพราะที่ผ่านมาได้ให้ DSI มาตรวจสอบคดีและมาพิสูจน์อาการป่วยที่วัด DSI ไม่ยอมมาพิสูจน์ที่วัดแม้เพียงครั้งเดียว
พอถามรองผอ.DSI ว่าทำไมไม่ไปพิสูจน์ที่วัด ?
กลับตอบว่า “เอ่อ....ผมไม่ขอตอบครับ
??????
นอกจากไม่ไปพิสูจน์ที่วัดแล้ว ยังไม่ตอบเหตุผลด้วย





พระพิมลธรรม
3. สถาบัน DSI มีอำนาจตามกฎหมายที่สามารถจับพระสึกก่อนขังคุกก่อนแล้วค่อยตัดสินทีหลังได้ แม้ไม่มีความผิดอะไรกฎหมายนี้มีจริงๆ(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๑ และ พรบ.คณะสงฆ์ มาตรา ๒๙) และเคยใช้กับพระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์มาแล้ว เช่น พระพิมลธรรมถูกจับสึกติดคุกฟรี 5 ปี คิดว่าลูกศิษย์วัดเป็นแสนคนจะยอมรับมั้ยละครับ ?



4. ได้ยินมาว่า DSI ทำคดีนี้ตามใบสั่ง การล้มล้างวัดพระธรรมกาย จากผู้มีอำนาจที่หนุนพุทธอิสระจริงหรือไม่ขนาด ผอ.DSI คนก่อนที่อาจหาญไปทำคดีพุทธอิสระ ยังเอาตัวไม่รอด พอขั้วอำนาจเปลี่ยน ตอนนี้ ไม่รู้จะติดคุกมั๊ย ต้องรอดู และ DSI ชุดใหม่ก็เล่นงานวัดพระธรรมกาย อย่างขยันขันแข็งอย่างมาก ?

ตอนนี้อยู่ขั้นตอนที่ 3 แจ้งข้อหา การแจ้งข้อหาแจ้งที่ไหนก็ได้ ดังนั้น ถ้า DSI มาแจ้งข้อหาที่วัดพระธรรมกาย ก็เป็นอันว่าจบเรื่อง คดีจะดำเนินไปตามกฎหมายทุกประการ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายก็เชิญแล้วเชิญอีก แต่ DSI ขอออกหมายจับให้เจ้าอาวาสออกมาจากวัดให้ได้
DSI ต้องการอะไรจากธรรมกายกันแน่?

#คหสต.เจ้าของกระทู้

สอนให้รวย? ผิดหลักคำสอนพระพุทธเจ้าหรือไม่ ไปดู หลักฐาน ในพระไตรปิฎกกัน


ก่อนอื่นชาวพุทธต้องเข้าใจก่อนว่า คำสอนพระพุทธเจ้าเหลือไว้เพียงพระไตรปิฎก ดังนั้น จะดูว่าสอนถูกหรือผิด ต้องดูในพระไตรปิฎกเท่านั้น


คำสอนพระพุทธเจ้ามี 84,000 หัวข้อ และ ส่วนใหญ่ พระพุทธเจ้าแสดงธรรม ก็ไม่ได้ เริ่ม ที่ นิพพานสูตร หรือ อริยสัจ 4 แต่พระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่จะแสดงธรรม ตามลำดับ จากเข้าใจง่าย ไปจนถึง เข้าใจยาก(อนุปุพพิกถา) หัวข้อแรกๆที่พระพุทธเจ้ามักแสดงธรรม คือ การทำทาน อานิสงค์ของการบริจาค การให้ ตั้งแต่ให้วัตถุทาน ไปจนถึง อภัยทาน


และทรงแสดงอานิสงค์ของการบริจาคทรัพย์เอาไว้ ว่า จะทำให้เกิดมาเป็นผู้มีทรัพย์มาก ภาษาชาวบ้าน คือ รวย ก็ได้ ที่ชาวพุทธบางท่าน รับคำสอนนี้ไม่ได้ แต่ไม่เคยอ่านพระไตรปิฎกเลยไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าท่านสอน ให้มีทรัพย์มาก อันเกิดจากอานิสงค์ของการบริจาคทรัพย์ และ


เมื่อมีทรัพย์มากแล้ว ก็ไม่ได้ให้เก็บเอาไว้ ดูเล่น ตระหนี่ แต่ให้นำทรัพย์ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น บำรุงบิดา มารดา บำรุงผู้มีพระคุณ รวมไปถึง บำรุงพระศาสนา เป็นต้น ไม่อาจปฏิเสธ ว่า นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ มีหลักฐานเรื่องราวในพระไตรปิฎก เช่น เรื่องสามเณรบัณฑิต ที่อดีตชาติเคยเป็น มหาทุคตะ(ยากจนที่สุดในเมือง) และหัวข้อธรรมอนุปุพพิกถา หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าท่าน ก็จะเทศน์ธรรม หัวข้อต่อๆมา ไปจนถึง สุดท้าย คือ อริยสัจ 4


มหาทุคตะ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ปัณฑิตวรรคที่ ๖