สรุปเนื้อหาจาก พระไตรปิฎก ฉบับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เล่มที่ 33 หมวดพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ 

พระสีวลีผู้เป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งให้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั่วไปทางด้านโชคลาภ เนื่องด้วยท่านเป็นพระอรหันต์หมดกิเลส ที่มีบุญทางด้านความสมบูรณ์พร้อมในปัจจัย



ไม่ว่าจะเหยียบย่างไปที่ไหนๆ จะทุรกันดารขนาดไหน พระภิกษุจะบิณฑบาตอาหารกันไม่ได้พากันอด แต่ถ้ามีพระสีวลีอยู่ด้วยสามารถบิณฑบาตเลี้ยงตนเองและหมู่พระภิกษุสงฆ์ได้ไม่เคยอด หรือยากลำบากในด้านปัจจัย 4 เลย


ในอดีตหลายๆชาติที่แล้ว ท่านได้เคยทำบุญถวายภัตตาหารแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆเป็นประธาน(เคยมีคนตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้ามาหลายพระองค์แล้ว) ถวายมหาทานนี้อยู่ถึง 7 วัน และได้อธิฐานจิตตั้งความปรารถนาเป็นพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสและให้ได้เป็นพระอรหันต์ผู้เป็นเลิศทางด้านโชคลาภเพื่อจะได้เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือพระภิกษุและพระพุทธศาสนาได้มากยิ่งขึ้น


ด้วยมหาทานครั้งนั้น ทำให้ชาติสุดท้ายนี้ ท่านได้มาเกิดในยุคพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันของเรา และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และเลิศกว่าภิกษุทั้งปวงในด้านลาภสักการะ

และยังมีบุญใหญ่ที่ท่านเคยทำไว้อีกหลายบุญ เช่น บุญสร้างมหาวิหาร ห้องน้ำ ถวายปานะนมส้มและน้ำผึ้งแก่คณะสงฆ์หมู่ใหญ่

เบื้องหลังความสำเร็จรุ่งเรือง ทั้งทางโลกและทางธรรม คือ สมบูรณ์พร้อมด้วยปัจจัย4 และได้บรรลุธรรมหมดกิเลส ก็ด้วยผลของการสั่งสมบุญทั้งการทำทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนามาหลายพบหลายชาติในอดีต


การที่พระอรหันต์นามว่าพระสีวลี ได้เป็นเลิศทางด้านลาภสักการะ ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านจะติดในลาภสักการะ การมีลาภสักการะ แล้วนำมาใช้ประโยชน์พระศาสนาไม่ได้เก็บสะสมเฉยๆ

 เหมือนกับการที่พระบางรูปให้พรว่า รวย หรือสอนให้รวย ก็ไม่ใช่สิ่งผิด 
การรวยไม่ใช่กิเลส กิเลสมีเพียง โลภ โกรธ หลง การรวยไม่เท่ากับโลภ 
คนรวยไม่จำเป็นต้องโลภ คนโลภไม่จำเป็นต้องรวย

โลภ คือ อยากได้โดยมิชอบ 
แต่รวย คือ การมีทรัพย์มาก การรวยไม่ใช่การยึดติดในทรัพย์

การยึดติดในทรัพย์ เรียก งก คนรวยไม่จำเป็นว่าต้องงก คนงกก็ไม่จำเป็นว่าจะรวย 
คนจนๆแต่ งก ก็มีเยอะแยะ




พระพุทธเจ้าสอนวิธีให้ชาวพุทธเกิดมาแล้วมีทรัพย์มาก หรือปัจจุบันเรียกว่ารวยก็ได้
พระพุทธเจ้าตรัสว่า บางคนให้ทานเองด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย เขาย่อมได้โภคทรัพย์สมบัติและบริวารสมบัติ ในที่แห่งตนเกิดแล้ว (พระไตรปิฎก หมวดพระสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค๒ ตอน๓ หน้าที่๒๗)
 เมื่อมีทรัพย์แล้วก็นำออกมาบำรุงบิดามารดา ญาติ ผู้มีพระคุณรวมถึงทำประโยชน์แก่สังคมและพระพุทธศาสนา)


สรุปคือ พระพุทธเจ้าสอนชาวพุทธให้มีความสุขความสุขความสำเร็จ ทั้งทางโลก (เรียก โลกิยทรัพย์ คือสมบูรณ์พร้อมด้วยปัจจัย 4) และทางธรรม (เรียก อริยทรัพย์ คือ การบรรลุธรรมหมดกิเลส)
ด้วยวิธีการทำทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิภาวนา เหมือนดังตัวอย่างชีวิตของพระอรหันต์ที่รุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม นามว่า พระสีวลี






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น...