อันดับที่ 11 ธุดงค์เข้าเมืองเพื่อ ?


การเดินธุดงค์เข้าเมืองของธรรมกาย มีจุดประสงค์ เดินตามเส้นทางชีวิตของหลวงปู่สด 
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จากวัดพระธรรมกาย-สุพรรณ(สถานที่เกิดของหลวงปู่และบวช)
-นนทบุรี(ที่บรรลุธรรมของหลวงปู่)-นครปฐม(เผยแผ่ธรรมที่บรรลุธรรมครั้งแรก)
-วัดปากน้ำภาษีเจริญ(ทำวิชชาและมรณภาพ) รวมระยะทาง 456 กิโลเมตร เดิน 30 วัน 

พระพุทธเจ้าสอนว่า การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคลอันสูงสุด 
โดยเดินทางเรียงหนึ่งริมถนน ไม่ได้ปิดถนน และไม่มีเจตนาที่จะทำให้รถติด 
แต่ต้องยอมรับว่า การบริหารจัดการยังไม่ดีพอ เลยทำให้บางจุดมีรถหนาแน่น 
อันนี้ ทางวัดต้อ ขอโอกาสปรับปรุการบริหารจัดการ 

ส่วนการโปรยดอกไม้ เป็นทางเพื่อต้อยรับพระธุดงค์ 
เป็นการเลียนแบบชาวพุทธที่มีบันทึกในพระไตรปิฎก 
สมัยหนึ่งที่ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง นามว่า พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า 
พร้อมคณะสงฆ์ 400,000 รูป เดินเข้าเมืองพร้อมๆกัน 
ชาวเมืองสมัยนั้น ก็โปรยดอกไม้ 5 สี ต้อนรับ และ
พระถ้าถือธุดงค์ ข้อใดข้อหนึ่งใน 13 ข้อ ก็เรียกว่า พระธุดงค์ ได้เลย 
เช่น ฉันอาหารมื้อเดียว ก็ถือธุดงค์แล้ว 
ไม่ได้ผูกขาดว่าต้องเดินป่าแต่อย่างใด 
การธุดงค์ คือ การถือข้อปฏิบัติธุดงควัตร ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไปใน 13 ข้อ 


*ธุดงควัตรมี 13 ข้อคือ
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร)
      1.การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าของโยมโดยตรงทุกชนิด (วางใกล้เท้าได้)
      2.การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

หมวดที่ 2 ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต)
     1.การถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน 
      2.ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป 
     3.ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม 
     4.ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร 

      5.ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม

หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ)
     1. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส
      2. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง
      3. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย
      4. ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท
      5. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที
      6. ถือการนั่งเป็นวัตร คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน








<<<VDO กดเล่นได้>>>



<<<VDO กดเล่นได้>>>



<<<VDO กดเล่นได้>>>


<<<VDO กดเล่นได้>>>




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น...